ประเทศไทยมีการลงทุนในด้านระบบขนส่งทางรางในช่วง 7 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ.2557- 2563) กว่า 1.55 ล้านล้านบาท และมีแผนลงทุนเพิ่มเติมอีกในอนาคตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งคนและสินค้าในทุกภูมิภาคของประเทศ ลงทุนในรถไฟฟ้าในชุมชนและรถไฟความเร็วสูง ดังนั้น จึงต้องมีแผนการพัฒนากำลังคนและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้เองในประเทศให้สามารถรองรับกับเทคโนโลยีที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษาระบบขนส่งทางรางในอนาคต
จากความพยายามในการรวบรวมข้อมูลจากหลายฝ่าย ทำให้ทราบถึงข้อเท็จจริงและอุปสรรคในการพัฒนากำลังคนและงานวิจัยให้ตอบโจทย์ความต้องการและสามารถนำไปใช้งานได้จริง เช่น ผู้ประกอบการเดินรถต้องการมาตรฐาน การรับประกันการใช้งาน ความปลอดภัย การใช้งานระบบรางในประเทศไม่สามารถยกความรู้จาก ต่างประเทศ มาใช้ได้เลย ต้องวิจัยให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพจริงของประเทศไทย ดังนั้นฝ่ายผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมการผลิต และนักวิจัยต้องมีการพูดคุยและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถพัฒนางานวิจัยที่นำไปสู่การใช้งานจริงดังรูปที่ 4 ตัวอย่างแนวทางการเลือกโจทย์วิจัยที่เหมาะสม เช่น พัฒนาตามข้อกำหนดในการจัดซื้อ เลือกโจทย์หรือชิ้นงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยตรง และไม่ต้องพิสูจน์ว่ามีการใช้งานมาก่อน
ในปีแรกมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้งสิ้น 19 มหาวิทยาลัย ทำงานร่วมกับ 7 มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ