เนื่องจากประเทศไทยมีการลงทุนด้านระบบโครงการนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนและสร้างภาคีความร่วมมือทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และ Hub of Talents จะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกลุ่มนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้กำหนดมาตรฐาน ผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการ ดังรูปที่ 1 เพื่อให้สามารถพัฒนาโจทย์การวิจัยที่มีมูลค่า สามารถใช้งานได้จริง เหมาะสมกับปริบทของระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย สร้างกลไกการทำงานร่วมกันของนักวิจัยเพื่อสร้างผลงานวิจัยและชิ้นงานในศูนย์ดังรูปที่ 2
เครือข่ายนักวิจัยด้านระบบขนส่งทางรางจากหลายมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยได้มีการรวมกลุ่มและทำงานร่วมกันอย่างจริงจังตั้งแต่ต้นปี 2564 ในรูปแบบ Consortium ริเริ่มโดย ทปอ. ทำให้ได้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ดังรูปที่ 3 โดยแบ่งกลุ่มการทำวิจัยด้านระบบขนส่งทางรางเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.โยธาราง 2.ชิ้นส่วนทางกล 3.ไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ 4.การเดินรถและโลจิสติกส์ และได้นำโจทย์วิจัยหารือกับฝ่ายผู้ใช้งานและผู้ประกอบการเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การทำงานร่วมกันของนักวิจัยตลอด 2 ปีที่ผ่านมาทำให้เข้าใจข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มนักวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆและได้รับทราบอุปสรรคและข้อจำกัดของการนำงานวิจัยไปใช้งานจริง ส่งผลให้โจทย์วิจัยที่พัฒนาร่วมกันมีความชัดเจนและมุ่งสู่การนำไปใช้งานได้จริงในประเทศไทย
กลไกการทำงานร่วมกันของ Hub of Talents นี้จะมีกิจกรรมหลัก 3 เรื่อง คือ
1. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย
2. การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงสู่การรับรองมาตรฐานและการนำไปใช้งานจริง
3.การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสู่การพัฒนากำลังคนด้านระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย
โครงการนี้กำหนดผลลัพธ์ในปีแรกคือ ระบบฐานข้อมูลผลงานความเชี่ยวชาญที่มีนักวิจัยและผู้ประกอบการเข้าใช้งานต่อเนื่อง มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับนักวิจัยต่างประเทศที่เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางราง จำนวน 10 ฉบับ/ปี พัฒนานักวิจัยให้มีความเชี่ยวชาญ 90 คน/ปี พัฒนานักศึกษาบัณฑิตศึกษา 19 คน/ปี และ จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ นศ.และบุคลากรจากภาครัฐและเอกชน 500 คน/ปี
รูปที่ 3 ลำดับเหตุการการทำงานของกลุ่มวิจัยด้านระบบขนส่งทางราง ทปอ.